1.รศ.วินัย ดะลันห์ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุว่า มีประชาชนและผู้ประกอบการร้านอาหาร เขียงเนื้อ ฝ่ายกิจการฮาลาลและคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ส่งเนื้อต้องสงสัยมาตรวจที่ห้องปฏิบัติการนิติวิทยาศาสตร์ฮาลาล
2.ทางศูนย์ฯ ได้ตรวจสอบด้วยการใช้เทคนิค Real-time PCR ผลปรากฏว่าเนื้อต้องสงสัยจำนวน 8 ตัวอย่างเป็นเนื้อหมูชุบเลือดวัวถึง 7 ตัวอย่าง
3.จำนวน 7 ตัวอย่างที่ตรวจพบว่าเป็นเนื้อหมูที่ส่งมาตรวจจากเขตบึงกุ่ม 2 ตัวอย่าง, บางกะปิ 1 ตัวอย่าง, หนองจอก 1 ตัวอย่างและประเวศ 1 ตัวอย่าง
4.ลักษณะที่เห็นจากภายนอกเป็นเนื้อมีสีแดงเข้ม คล้ายเนื้อวัวมาก หากสังเกตด้วยสายตาจะไม่ทราบว่าเป็นเนื้อชนิดใด
5.ผลการตรวจสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ พบว่าเป็นเนื้อหมู
6.ปัจจุบันมีเขียงเนื้อเพียงไม่กี่แห่งที่ได้ตรารับรองฮาลาลและส่วนใหญ่จะซื้อขายกันด้วยความไว้วางใจ จึงเป็นช่องทางให้พ่อค้าบางคนนำเนื้อหมูมาสวมเป็นเนื้อวัวแทน
7.ผู้ขายที่หน้าเขียงก็จะไม่ทราบได้ว่ากำลังขายเนื้อหมูปลอมเป็นเนื้อวัว
8.เป้าประสงค์ของการหลอกลวงนี้น่าจะเป็นเรื่องของ “ราคา” ที่ต่ำกว่าราคาเนื้อวัวในตลาด แต่ขายได้สูงกว่าราคาเนื้อหมูปกติ