พระ “อัฏฐารส” พิษณุโลก

ข่าวด่วนเกาะกระแส

ในกระบวนพระเครื่อง “เนื้อชินเขียว” หรือ “ชินเนื้อแข็ง” ด้วยกันแล้ว ที่เมืองพิจิตรมีชื่อและได้รับความนิยมกันมากที่สุดก็เห็นจะได้กับพระชุดจิ๋ว ประเภท “เม็ดข้าวเม่า” ….แต่ที่ดังมากและมีขนาดพอๆ กับ “พระกำแพงขาว” แล้วก็ต้องยกให้กับ “พระยอดอัฏฐารส” ของเมืองพิษณุโลกมาเป็นที่หนึ่งของพระประเภทเนื้อชินเขียวดังกล่าวแล้ว

“พระเครื่องยอดอัฏฐารส” ถูกต้นพบโดยคนร้ายนำออกมาจากยอดพระเศียรของพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ที่ชื่อว่า “พระอัฏฐารส” ซึ่งอยู่ในบริเวณวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระพุทธชินราช) เมืองพิษณุโลก เมื่อพ.ศ. 2425 (สมัย ร.5) และต่อมายังพบที่ใต้ฐานพระพุทธรูปอีกหลายครั้ง….พระยอดอักฐารสทำด้วยเนื้อชินพิเศษ หรือ ที่นิยมเรียกกันทั่วๆไปว่า “เนื้อชินเขียว” ทั้งหมด มีด้วยกันหลายลักษณะแยกเป็นพิมพ์ใหญ่, กลาง, และเล็ก ลักษณะที่เป็นเอกลักษณะของพระเครื่องสกุลนี้ก็คือ ต้องเป็นพระสองหน้า หน้าหนึ่งเป็นพระลีลาเยื้องก้าวอยู่บนฐานบัว (มีทั้งหันด้านขวาและซ้าย) อีกด้านหนึ่งทำเป็นแบบซุ้มเสมาทิศ (ซุ้มระฆัง) และนอกจากนั้นยังทำเป็นพิมพ์พิเศษแบบเม็ดมะปราง และอื่นๆ อีกมาก ฯลฯ พระยอดอัฏฐารสจากกรุเมืองพิษณุโลกทุกองค์ จะปรากฏสนิมไขขาวสลับเหลืองหุ้มหนาเป็นแบบไข่แมงดาอยู่ทั่วทั้งหน้าและหลังไว้อย่างงดงามมาก โดยจะไม่เหมือนเมืองอื่นๆ ที่ได้สร้างกันต่อๆ มาอีกหลายแห่งเลย ขณะนี้นับว่าเป็นพระเครื่องชมได้ยากอีกสกุลหนึ่ง

พุทธคุณพระยอกอัฏฐารสนับว่าเยี่ยมทั้งแบบเมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี

โดยอาจารย์ ประชุม กาญจนวัฒน์