Guestpost โฟสฟรี ถ้าคุณมีสาระดีๆ ที่นี่เราให้คุณได้แบ่งปัน

Notifications
Clear all

เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508

1 Posts
1 Users
0 Likes
475 Views
werachai
(@werachai)
Posts: 2480
Noble Member
Topic starter
 

เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508

image

คณะศิษย์ทหารอากาศสร้างเหรียญรุ่น 4 ถวายอาจารย์ฝั้น ในปี 2508

ลักษณะเหรียญ

เป็นเหรียญวงรีรูปไข่ มีหูห่วง

ด้านหน้าเหรียญ

ขอบเหรียญมีเส้นสันนูน ตรงกลางเหรียญมีรูปเหมือนพระอาจารย์ฝั้น ครึ่งองค์ หันหน้าไปทางขวา ด้านล่างสลักตัวหนังสือนูนคำว่า “พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร”

ด้านหลังเหรียญ

ด้านหลังเหรียญระบุว่ เป็นเหรียญรุ่นสี่ " วัดป่าภูธรพิทักษ์ " และปี พ.ศ. ๒๕๐๘

วัดป่าภูธรพิทักษ์เดิมชื่อว่า วัดธาตุนาเวง จ.สกลนคร เป็นวัดที่อาจารย์ฝั้นบูรณะจนรุ่นเรือง

 image

เหรียญรุ่น 4 มี 2 เนื้อ

  • เนื้ออัลปาก้า
  • เนื้อทองแดง

ด้านหน้าใช้บล็อคแม่พิมพ์เดิมมาปั๊มใหม่

ส่วนด้านหลังแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ มี 2 บล็อค

  • บล็อกอัลปาก้า
  • บล็อกทองแดง

จุดสังเกต เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508 บล็อกอัลปาก้า (ด้านหน้า)

1. มีเส้นแตกตื้นๆ เหนือศรีษะอาจารย์ฝั้น
2. มีเส้นแตกเฉียงด้านหน้า บริเวณคาง
3. มีเส้นแตกบางๆ พุ่งจากไหล่ซ้ายขึ้นด้านบน

จุดสังเกต เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508 บล็อกอัลปาก้า (ด้านหลัง)

1. มีเส้นแตกผ่านสระอา ของคำว่า วัดป่าภูธรพิทักษ์
2. พื้นเหนือคำว่า สี่ มีรอยแกะบล็อคไม่เรียบ
3. มีเส้นแตกเฉียงยาวจากใต้ตัว พ มาที่เลข 0
4. มีเส้นแตก หรือเส้นขนแมวระหว่างยันต์

จุดสังเกต เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508 บล็อกทองแดง (ด้านหน้า)

1. มีเส้นแตกตื้นๆ เหนือศรีษะอาจารย์ฝั้น
2. มีเส้นแตกเฉียงด้านหน้า บริเวณคาง
3. มีเส้นแตกบางๆ พุ่งจากไหล่ซ้ายขึ้นด้านบน

จุดสังเกต เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่น 4 ปี 2508 บล็อกทองแดง (ด้านหลัง)

1. ระหว่างเลข 5 และ เลข 0 มีติ่งเนื้อ
2. ตัวหนังสือ รุ่นสี่ ต่างจากอีกบล็อค
3. มีติ่งเนื้อตื้นๆ ด้านหน้าตัว ถ ถวาย

 

เหรียญพระอาจารย์ฝั้น รุ่น 1 ถึง รุ่น 7 มีจุดเด่นสำคัญคือ ด้านหน้าเหรียญจะใช้บล็อกเหรียญพระอาจารย์ฝั้นรุ่นแรกเหมือนกันหมด ส่วนด้านหลังเหรียญจะใช้บล็อกแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน ปัจจุบันมีเหรียญเก๊ทำลอกแบบเหรียญจริงได้แนบเนียนมาก เหรียญจริงให้สังเกตเหรียญด้านหน้าบริเวณใต้คางหลวงปู่ จะมีเส้นคล้ายเส้นเกศาลากยาว ส่วนด้านหลังให้สังเกตบริเวณใต้หูห่วง จะเห็นตัว"ม" ด้านหลังตัว ม.ม้า จะมีตัว "ม" อีกตัวเลือนราง

 

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร ท่านเป็นชาวสกลนครโดยกำเนิด เกิดที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2442 ในตระกูลของ “สุวรรณรงค์” เจ้าเมืองพรรณานิคม บรรพชาเป็นสามเณร ที่ วัดโพนทอง เมื่อปี พ.ศ.2461 ขณะอายุได้ 19 ปี พออายุครบบวชจึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่ วัดสิทธิบังคม บ้านไฮ่ ต.ไร่ อ.พรรณานิคม ศึกษาร่ำเรียนพระปริยัติธรรมและวิปัสสนากรรมฐานกับ ท่านอาญาครูธรรม เจ้าอาวาสวัดโพนทอง และติดตามพระอาจารย์ออกธุดงค์ไปตามสถานที่ต่างๆ ด้วยจิตมุ่งมั่นในการบำเพ็ญภาวนาและเจริญวิปัสสนากรรมฐานอย่างแรงกล้า

ปี พ.ศ.2463 พระอาจารย์ฝั้น ได้พบ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต และขอปวารณาตนเป็นศิษย์เพื่อศึกษาวิชาความรู้และหลักธรรมต่างๆ โดยเฉพาะด้านวิปัสสนากรรมฐาน ในปี พ.ศ.2468 จึงขอแปรญัตติจากมหานิกายเป็น ‘ธรรมยุติกนิกาย’ ที่ พระอุโบสถวัดโพธิสมภรณ์ จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากนั้นก็ร่วมออกธุดงค์กับพระอาจารย์มั่นไปตามสถานที่ต่างๆ เป็นเนืองนิตย์

 

พระอาจารย์ฝั้น ธุดงค์ไปถึงที่ใด ท่านก็จะให้ความเมตตาช่วยเหลือชาวบ้านและพัฒนาที่แห่งนั้น ไม่ว่าจะเป็นป่าช้าหรือหมู่บ้านเชิงเขา รวมทั้ง ‘วัดป่าอุดมสมพร’ และ ‘เขาถ้ำขาม’ ท่านนับเป็นพระเกจิที่มีคุณวิเศษ เป็นผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มีเมตตาธิคุณและกรุณาธิคุณสูงส่ง สามารถส่งพลังถึงผู้ไปกราบนมัสการให้เกิดความรู้สึกเป็นสุข สงบ และก่อให้เกิดสติปัญญา จึงเป็นที่เคารพเลื่อมใสและศรัทธาของเหล่าพุทธศาสนิกชนทั่วทั้งประเทศ ท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมายทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ

พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร มรณภาพเมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ.2520 ณ วัดป่าอุดมสมพร อันเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของท่าน สิริอายุรวม 78 ปี พรรษา 58 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ทรงสรงน้ำศพและพระราชทานหีบทองประกอบศพ และเสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดป่าอุดมสมพร ในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2521

ปัจจุบันบริเวณที่พระราชทานเพลิงศพของ พระอาจารย์ฝั้น ได้มีการสร้าง ‘เจดีย์พิพิธภัณฑ์’ ความสูง 27.9 เมตร เป็นเจดีย์ปลายแหลม ฐานกลม ขึ้นรูปด้วยกลีบบัวหุ้มฐานสามชั้น แต่ละกลีบบัวตกแต่งด้วยกระเบื้องเป็นรูปพระอาจารย์ต่างๆ ในสายวัดป่ากรรมฐาน ภายในเจดีย์มี รูปปั้นพระอาจารย์ฝั้น ถือไม้เท้า ขนาดเท่าองค์จริง และตู้กระจกที่บรรจุเครื่องอัฐบริขารของท่านอย่างครบถ้วน

สำหรับวัตถุมงคลของหลวงปู่ฝั้น บรรดาคณะศิษย์ได้ร่วมกันจัดทำวัตถุมงคลออกมาในหลายครั้ง ตามวาระโอกาสที่สำคัญ มีการจัดสร้างจำนวนมากหลายรุ่น

#เหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่น 4
#เหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่นต่างๆ
#เหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่นอุดมสมพร
#เหรียญหลวงปู่ ฝั้ น รุ่น 4
#เหรียญอาจารย์ฝั้นรุ่น 4
#เหรียญอาจารย์ฝั้น อุดมสมพร ราคา
#ประสบการณ์ เหรียญ หลวงปู่ ฝั้ น. รุ่น 4
#เหรียญอาจารย์ ฝั้ น รุ่น 4 สวยแชมป์

ข้อมูลอ้างอิง

https:// siamrath.co.th/n/188214

pharaohamulet.com

 
Posted : 25/11/2021 6:16 pm
Share: