ความปลอดภัยในโลกอินเทอร์เน็ต – การเข้ารหัสคืออะไร

เรื่องที่น่าสนใจล่าสุด

แม้อินเทอร์เน็ตเป็นระบบเปิดสาธารณะให้ทุกคนรับส่งข้อมูลกันผ่านสายไฟและการเชื่อมต่อที่แชร์ผ่านถึงกัน แต่เราจะแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญกันแบบส่วนตัวได้อย่างไร โดยเฉพาะข้อมูลบัตรเครดิต ข้อมูลธนาคาร รหัสผ่าน อีเมล

ข้อมูลทุกประเภทสามารถเป็นความลับได้ผ่านกระบวนการที่เรียกว่าการเข้ารหัส (Encryption) ซึ่งเป็นการสลับตำแหน่งหรือเปลี่ยนข้อความเพื่อซ่อนข้อความต้นฉบับ ส่วนการถอดรหัส (Decryption) เป็นการไขรหัสเพื่อให้ผู้รับปลายทางสามารถอ่านได้นั่นเอง เปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือเหมือนการถือกุญแจระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้ถือไว้คนละหนึ่งดอก

การเข้ารหัสยุคแรก ๆ ในประวัติศาสตร์มนุษย์เกิดขึ้นในยุคโรมันโดยนายพลซีซาร์ ไซเฟอร์ ที่จัดการเข้ารหัสคำสั่งในการทหารเพื่อที่หากศัตรูได้ข้อความนั้นไปแล้วจะไม่สามารถอ่านหรือทำความเข้าใจได้ อัลกอริธึมของซีซาร์นี้แทนที่ตัวอักษรแต่ละตัวในข้อความต้นฉบับด้วยตัวอักษรถัด ๆ ไปในลิสต์อักขระ และจะมีแค่ผู้ส่งกับผู้รับเท่านั้นที่รู้กันว่าตัวเลขนั้นคือเท่าไหร่ ตัวเลขนั้นคือกุญแจที่ปลดล็อกข้อความได้นั่นเอง เช่นหากข้อความต้นฉบับเขียนว่า Good morning สมมติว่ากุญแจในอัลกอริธึมของซีซาร์ ไซเฟอร์นี้เท่ากับ 2 ข้อความที่เข้ารหัสก็จะเป็น Iqqf Oqtpkpi

แต่การเข้ารหัสข้อความแบบนั้นไม่ได้ยากเย็นอะไร เพราะใครก็แกะข้อความได้ด้วยการลองกุญแจให้ครบทุกดอก และภาษาอังกฤษมีกุญแจเพียง 26 ดอก (มี26ตัว) ใช้เวลาไม่น่าเกินวันก็แกะจดหมายสามหน้าเสร็จ ดังนั้นหากจะทำให้ยากขึ้น เราก็เปลี่ยนตัวอักษรแต่ละตัวในจำนวนที่ไม่เท่ากันดีกว่า การเข้ารหัสสิบหลักด้วยจำนวนแต่ละหลักที่ต่างกัน เมื่อรวมตัวอักษร อักขระ ตัวเลขเข้าด้วยกันทั้งหมดแล้วอาจมีผลลัพธ์ที่เป็นไปได้หลายล้านผล ซึ่งหากใช้มนุษย์ คงใช้เวลาเป็นร้อย ๆ ปี แต่เรื่องแบบนี้คอมพิวเตอร์ถนัด

การสื่อสารที่ปลอดภัยในปัจจุบันมีการเข้ารหัสด้วยกุญแจอย่าง 128 บิทเหมือนการเข้ารหัส 128 หลักด้วยจำนวนแต่ละหลักที่ต่างกัน แทบจะทุกเบราว์เซอร์และเว็บไซต์ที่เรารู้จักมีการเข้ารหัส 128 บิทกันแล้วเพื่อความปลอดภัยของข้อมูลที่คุณกรอก ไม่ว่าจะเป็น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารไทยพาณิชย์, SCB Easy App, ธนาคารออมสิน, ธนาคารกสิกรไทย หรือเรียกได้ว่าทุกธนาคาร นอกจากนี้เว็บไซต์ธุรกรรมทางการเงินดัง ๆ อย่าง 12bet  และ Paypal ก็ใช้การเข้ารหัส 128 บิทเช่นกัน ทำให้คอมพิวเตอร์ของคนร้ายต้องพยายามแกะข้อความหลายล้านล้านความเป็นไปได้ด้วยคอมพิวเตอร์ยุคปัจจุบัน ซึ่งใช้เวลาราว 1,038 ปีเลยทีเดียว  แต่ด้วยคอมพิวเตอร์ที่เร็วขึ้นทุกปี ก็ต้องพัฒนาการเข้ารหัสที่ซับซ้อนขึ้นต่อ ๆ ไป ในอนาคต