พระคง ลำพูน

พระกรุ

“วัดพระคง” นับเป็นอีกพระอารามหนึ่งที่กำเนิดขึ้นในสมัยพระนางจามเทวี สร้างเมื่อ พ.ศ. 1223 พร้อมๆ กับวัดมหาวัน, วัดดอนแก้ว, วัดประตูลี้, และเมื่อรวมวัดพระคงเข้าไปด้วยแล้ว ก็คือวัดสี่มุมเมืองนั่นเอง

“พระคง” นับเป็นพระเครื่องขนาดเขื่องกว่าพระรอดอีกเล็กน้อยเท่านั้นเอง “พระคง” คือหนึ่งในพระเครื่องหลักที่รวมอยู่ชุดสกุลลำพูนที่มีพระรอดกรุวัดมหาวันเป็นขุนพลของขบวนการพระสกุลนี้ สร้างเป็นลักษณะยอดโค้งมนคล้ายปลายนิ้วมือเรา ทำเป็นพระนั่งปรางมารวิชัยอยู่ภายใต้ซุ้มโพธิ์ ในลักษณะค่อนข้างแกร่งกร้าว คือ พระกรด้านซ้ายจะมีการหักศอกเป็นมุมฉากในระดับ 90 องศา โดยไม่เหมือนกับพิมพ์อื่นๆ ซึ่งอยู่ในสกุลนี้เลย ด้านหลังมีทั้งประเภทหลังอูมหนา, อูมบาง และปาดราบ ที่ขาดไม่ได้คือ จะต้องมีลายมือติดอยู่ทุกองค์ พระคงกรุวัดพระคงได้มีผู้ขาดพบภายหลังพระกรุทุ่งเศรษฐีไม่นานนัก มีทั้งหมดด้วยกัน 5 สี คือ ขาว, เหลือง, แดง, เขียว และดำ มีสร้างแต่เฉพาะเนื้อดินเผาผสมผงเท่านั้น เนื้อพระคงแต่ละองค์เทียบได้เท่ากับเนื้อพระรอด และพระเกือบ 90% มักจะปรากฏว่าดอกมะขามสีแดงปนอยู่ทั่วไปด้วย

“พระคง” นับเป็นพระพิมพ์เดียวที่มีปรากฏแทรกอยู่ในกรุอื่นๆ เป็นส่วนมาก และยังมีสร้างต่อมาอีกจนถึงสมัยอยุธยา ไม่ผิดกับการขุดพระทีเมืองกำแพงเพชร ถ้าพบพระอะไรที่ไหนเป็นต้องพบพระนางกำแพงรวมอยู่ที่นั่น ด้วยเหตุนี้พระคงจึงมีพอปรากฏให้ ชมได้บางอยู่ขณะนี้

พระรอดวัดมหาวันดีอย่างไร พระคงวัดพระคงก็จะทรงพุทธคุณไว้เช่นนั้น จะผิดกันไปบ้างก็ตรงที่พระรอดเยี่ยมยอดในด้านแคล้วคลาดมาก แต่พระคงก็เชื่อถือได้ในด้านคงกระพันชาตรี ซึ่งมีประสบการณ์กันมาแล้ว

โดยอาจารย์ ประชุม กาญจนวัฒน์