พระ “ซุ้มเรือนแก้วใหญ่” สุโขทัย

พระกรุ

จากหลักฐานที่บ่งชัดทั้งทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้เป็นเครื่องชี้บ่งและยืนยันให้เรารู้ว่าในระยะ พ.ศ. 1980-1921 นั้น สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไทย (พระมหากษัตริย์ในราชวงศ์พระร่วงองค์ที่ 5) ได้ใช้เวลาส่วนใหญ่แทนที่จะมุ่งไปในทางด้านการศึกสงคราม กลับหันมาทำนุบำรุงด้านการพระพุทธศาสนาเป็นเรื่องใหญ่ ทั้งศิลปะและวัตถุโบราณใหญ่น้อยจึงได้ปรากฏแก่สายตาเยาวชนรุ่นหลังไว้สุดประมาณได้

พระ “ซุ้มเรือนแก้วใหญ่” พระแผงขนาดใหญ่สูง 13 ซ.ม. เป็นพระเนื้อชินผิวกลับดำอมเทา จากหนึ่งในหลายด้านองค์ที่พบจากกรุอารามร้างในตัวเมืองสุโขทัยเก่าเมื่อ พ.ศ. 2512 นี่เอง (เมื่อ พ.ศ. 2465 เคยมีผู้พบพระแผงแบบนี้ก่อนแล้ว) พระแผงชนิดนี้ขึ้นจากกรุ 10 กว่าแผงเท่านั้นและส่วนมากก็ชำรุดด้วย พระแผงองค์นี้นอกจากจะสมบูรณ์แล้ว ยังมีทองเก่าปะติดมาด้วย จึงนับว่าเป็นพระแผงศิลปะแบบสุโขทัยที่สมบูรณ์และอลังการลึกล้ำ จากจินตนาการของศิลปินยุคนั้นฝากมาให้เราได้ชมกันในยุคนี้อย่างตื่นตา ตื่นใจยิ่งนัก

ความยิ่งใหญ่ในจินตนาการของศิลปะที่ระบุบ่งไว้ในพระแผงซุ้มปรกโพธิ์เรือนแก้วใหญ่ ย่อมเป็นเครื่องชี้บ่งให้ผู้เป็นเจ้าของได้รับความคุ้มครองจากท่านและครอบครัว บูชาแล้วความรุ่งโรจน์ความเจริญผาสุกจะตกอยู่ในครอบครัวของผู้เป็นเจ้าของพระแผงนี้ครับ

โดยอาจารย์ ประชุม กาญจนวัฒน์