พระกริ่งคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

พระกรุ

พระกริ่ง “คลองตะเคียน” เป็นพระเครื่องที่ไม่ปรากฏผู้สร้างมาก่อน พบมากตามกรุวัดร้างและเนินดินแถบตำบลคลองตะเคียน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 พระดังกล่าวได้พบครั้งแรกที่คลองตะเคียนนั้น เป็นพระที่กำเนิด เมื่อครั้งสมัยอยุธยายุคปลาย ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก ต่อมาเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระเกจิอาจารย์ที่วัดประดู่ฯ อยุธยาก็ได้สร้างกันต่อมาอีกหลายรุ่นเช่นกัน และทั้งเนื้อ ทั้งพิมพ์และยันต์จะไม่เหมือนกัน (ของเดิมเนื้อจัดและงดงามกว่า)

พระกริ่ง “คลองตะเคียน (กรุคลองตะเคียน) เป็นพระเครื่องเนื้อผงใบลานเผาผสมด้วยผงเกสรศักดิ์สิทธิ์ร้อยแปด ส่วนมากเนื้อจะออกสีดำที่เป็นชนิดเขียวคราบเหลืองก็มี สีน้ำตาลก็มี โดยพระทุกองค์จะมีการประจุเม็ดกิ่งไว้ภายใน เมื่อเขย่าจะมีเสียงดังด้วย ทั้งหมดมีด้วยกันหลายพิมพ์ที่นิยมกันมากที่สุดได้กับ “พิมพ์ก้นหยิกหลังยันต์”

พระกริ่งคลองตะเคียนสร้างอาศัยเค้าพระคงลำพูนเป็นหลักทำเป็น 2 หน้าก็มี หน้าเดียวก็มี นับเป็นพระเครื่องที่มีการ “เล่นยันต์” จารลงไว้กับพระทุกองค์ นับเป็นพระเครื่องกรุเดียวที่เชื่อได้ในด้านพระพุทธคุณดีทางป้องกันเขี้ยวเล็บ งา มีด และปืน! ยืนหยัดในด้านคงกระพันชาตรีดีเป็นเยี่ยมครับ

โดยอาจารย์ ประชุม กาญจนวัฒน์