“เรียนรู้” และ “ปรับเปลี่ยน” เมื่อโควิด-19 มาเยือน

โควิด-19 เปลี่ยนโลก

          จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงทำให้ผู้คนเกิดความวิตกกังวลไปทั่วโลก มีทั้งการปิดเมือง ปิดประเทศ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค ส่งผลให้สนามบินเงียบเหงา สถานที่ท่องเที่ยวร้างผู้คน หลายธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ทั้งทางตรง และทางอ้อม ต้องลดจำนวนพนักงาน หรือเลือกที่จะปิดตัวลง เพราะผู้คนต่างไม่ยอมออกนอกบ้าน ไม่กล้าอยู่ในที่คนพลุกพล่าน อยู่แต่ในบ้าน คอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของไวรัสตัวนี้ ซึ่งมีทั้งข้อมูลจริง และข้อมูลเท็จ หรือในบางข้อมูลที่เราเคยยึดถือเป็นแนวทางในการป้องกันการติดเชื้อ ก็อาจต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์มากยิ่งขึ้น

แต่หากลองมองในแง่ดี ของการระบาดโควิด-19 นี้ ก็ทำให้ผู้คนทั่วโลกได้เห็นถึงความสำคัญของการดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลจากโลกมากขึ้น รวมถึงทั้งในภาครัฐ และภาคธุรกิจ ก็ต้องตระหนักถึงเรื่องต้องปรับเปลี่ยน และปรับตัว เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในเชิงรุก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ เช่น ในประเทศไต้หวัน แม้จะอยู่ใกล้กับประเทศจีน ที่มีผลเมืองหลายล้านคนทำงานในประเทศจีน รวมถึงนักท่องเที่ยงจากจีน ที่เดินทางไปเที่ยวไต้หวันเป็นจำนวนไม่น้อย ดังนั้น ประเทศไต้หวัน จึงเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงจะพบผู้ป่วยโควิดสูง เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก แต่กลับกลายเป็นว่า ไต้หวันมีการแพร่ระบาดน้อยกว่าประเทศอื่น ๆ นั่นเป็นเพราะว่า ตั้งแต่เมื่อครั้งมีโรคระบาดจากโรคซาร์ส รัฐบาลไต้หวันจึงได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพแห่งชาติ ขึ้นเป็นส่วนของศูนย์จัดการภัยพิบัติ ที่มุ่งเน้นการตอบสนองในเชิงรุกต่อการเกิดโรคระบาด

แม้โควิด-19 จะเป็นโรคที่ไม่รุนแรง ที่เป็นแล้วต้องเสียชีวิตทุกคนก็ตาม แต่การแพร่กระจายไปในวงกว้างอย่างรวดเร็ว จึงทำให้เกิดความหวาดระแวงไปทั่ว ธุรกิจหลายอย่างต้องชะลอตัว ไปจนถึงขั้นหยุดชะงัก แต่ในทางกลับกัน ก็เป็นการกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนเพื่อเป็นทางเลือกสู่ทางรอดมากขึ้น เช่น หน้ากากอนามัย ที่ไม่ได้มาตรฐานจะถูกปฎิเสธจากผู้บริโภคมากขึ้น เพราะผู้บริโภคมีความรู้ในการเลือกซื้อ และเลือกใช้ดีขึ้น บริษัทผลิตชุดบุคลากรทางการแพทย์ เริ่มหันมาทำหน้ากากผ้าแบบซักได้ เพื่อให้แทนหน้ากากอนามัย โดยผลิตจากเส้นใยผ้าที่ต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และฝุ่น PM2.5 สามารถซักแล้วใช้ซ้ำได้หลายครั้ง และในอนาคตจะมีการพัฒนาให้ป้องกันเชื้อไวรัสได้ด้วย ทั้งก๊อกน้ำ หรือลูกบิดประตู จะถูกคิดค้นเพื่อลดการสัมผัสให้มากที่สุด เช่น เป็นแบบโยกเปิดปิด ที่สามารถใช้ข้อศอก หรือวัสดุอื่นในการสัมผัสแทนมือได้